Skip to Main Navigation
ข่าวประชาสัมพันธ์ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก: ประเทศต่างๆ จะต้องรีบดำเนินการเดี๋ยวนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอันเกิดจากโควิด-19

วอชิงตัน, มีนาคม 30, 2563 – ไวรัสดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการผลิตในประเทศจีนซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่กำลังฟื้นตัวจากสภาวะตึงเครียดทางการค้าและกำลังต่อสู้กับโควิด-19 อยู่ในตอนนี้กำลังเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการเงินทั่วโลกและภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจจะเกิดขึ้น

นโยบายทางเศรษฐกิจมหาภาคที่แข็งแรงและกฎระเบียบทางการเงินที่รอบคอบทำให้เกือบทุกประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก สามารถรับมือกับการสั่นคลอนทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปได้ แต่เรากำลังเผชิญอยู่กับเหตุการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเกิดจากการหยุดชะงักและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามมา ดูเหมือนว่าในหลายๆประเทศจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจนี้ไปได้ ประเทศต่างๆจึงจำเป็นต้องรีบดำเนินการเดี๋ยวนี้ ซึ่งรวมไปถึงการลงทุนอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างความสามารถในการรองรับทางสาธารณสุขและมาตรการทางการคลังที่ตั้งเป้าไว้เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบบางประการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ตามรายงาน East Asia and Pacific in the Time of COVID-19 ซึ่งเป็นรายงานอัพเดททางเศรษฐกิจฉบับเดือนเมษายนของธนาคารโลกสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคาดคะเนการเติบโตที่แม่นยำเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ดังนั้นรายงานดังกล่าวจึงนำเสนอทั้งสถานการณ์ที่พื้นฐานและสถานการณ์ที่ย่ำแย่  ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่กำลังพัฒนานี้ได้มีการคาดคะเนว่า ในปี 2563 การเติบโตจะชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในสถานการณ์ที่พื้นฐานและ ติดลบร้อยละ 0.5 ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่เมื่อเทียบจากตัวเลขประมาณการร้อยละ 5.8 ในปี 2562   นอกจากนี้ได้มีการคาดคะเนว่าในปี 2563 การเติบโตในประเทศจีนจะลดลงไปอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในสถานการณ์ที่พื้นฐานและ ร้อยละ 0.1 ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่เมื่อเทียบจากตัวเลขร้อยละ 6.1 ในปี 2562 การยับยั้งโรคระบาดใหญ่จะเป็นการรักษาสภาพการฟื้นฟูในภูมิภาค ถึงแม้ว่าความเสี่ยงที่มีผลต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจอันเกิดจากความตึงเครียดของตลาดการเงินจะยังคงสูงก็ตาม

ภาวะช็อคจากโควิด-19 จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาวะความยากจนด้วยเช่นกัน รายงานได้มีการประมาณการไว้ว่า ในปี 2563 ภายใต้การเติบโตในสถานการณ์ที่พื้นฐานจะมีจำนวนประชากรที่รอดพ้นจากภาวะความยากจนทั่วทั้งภูมิภาคอยู่น้อยกว่า 24 ล้านคนหากไม่มีโรคระบาดใหญ่เกิดขึ้น (ใช้เส้นแบ่งความยากจนที่ 5.50 ดอลลาร์สหรัฐ/วัน) หากสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำลงไปมากกว่านี้ และสถานการณ์ที่ย่ำแย่นั้นเกิดขึ้นจริง เมื่อนั้นจะมีจำนวนประชากรที่ยากจนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งก่อนที่จะมีการคาดคะเนนั้นได้มีการประมาณการไว้ว่า ในปี 2563 จะมีประชากรเกือบ 35 ล้านคนที่จะรอดพ้นจากภาวะความยากจนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกซึ่งในที่นี้รวมถึงจำนวนประชากรในประเทศจีนเพียงประเทศเดียวที่มีมากกว่า 25 ล้านคน

“ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับภาวะช็อคทั่วโลกที่ก่อนหน้านี้กำลังรับมือกับความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างประเทศและผลสะท้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ในประเทศจีน” กล่าว วิคตอเรีย กวากวา รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าว “ข่าวดีก็คือภูมิภาคนี้มีความแข็งแกร่งในด้านต่างๆซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ประเทศต่างๆจะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและในระดับที่ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

การดำเนินการต่างๆที่ได้มีการเสนอแนะไว้ในรายงานก็คือการลงทุนเร่งด่วนเพื่อสร้างความสามารถในการรองรับด้านสาธารณสุขและการเตรียมความพร้อมในระยะยาว  รายงานดังกล่าวยังได้มีการเสนอแนะให้มีการบูรณาการทางด้านมุมมองของนโยบายการยับยั้งโรคระบาดและนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเข้าไว้ด้วยกัน มาตรการทางการคลังที่ได้กำหนดไว้ อาทิเช่น  เงินอุดหนุนสำหรับการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลและการเจ็บป่วยจะช่วยในเรื่องของการยับยั้งโรคระบาดและเป็นการสร้างความมั่นใจว่าภาวะการขาดแคลนชั่วคราวนั้นจะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว

“นอกเหนือจากการดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศแล้ว ความร่วมมือระหว่างประเทศที่แน่นแฟ้นกว่าเดิมนั้นเปรียบเสมือนวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการต่อต้านกับภัยคุกคามที่มีพิษร้ายแรงเช่นนี้ ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกและที่อื่นๆจะต้องต่อสู้กับโรคนี้ไปด้วยกัน โดยการเปิดให้มีการค้าขายและประสานงานทางด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาค” กล่าว อาดิทยา แมททู หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

รายงานฉบับนี้เรียกร้องให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศและความร่วมมือในรูปแบบใหม่ระหว่างรัฐบาล-เอกชนแบบข้ามพรหมแดนซึ่งจะช่วยเพิ่มการผลิตและการผลิตสินค้าเวชภัณฑ์ที่สำคัญและการบริการต่างๆในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่นี้ และเพื่อสร้างความมั่นใจในเสถียรภาพทางการเงินหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่สำคัญคือควรจะต้องมีการเปิดนโยบายทางการค้าเอาไว้เพื่อให้ทุกประเทศต่างมีเวชภัณฑ์และสินค้าอื่นๆไว้ใช้และเป็นการช่วยให้การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสนอแนะทางนโยบายอีกด้านคือการลดหย่อนสินเชื่อเพื่อช่วยให้ครัวเรือนนั้นสามารถจับจ่ายใช้สอยได้โดยไม่มีปัญหาและช่วยให้ธุรกิจต่างๆรอดพ้นจากภาวะการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน อย่างไรก็ตามในวิกฤตที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อนี้ รายงานฉบับนี้ได้เน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการควบคู่ไปกับการควบคุมดูแลทางด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลายประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกมีการถือภาระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนเอาไว้มหาศาลแล้ว  สำหรับประเทศที่ยากจนกว่า การบรรเทาหนี้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพื่อที่ว่าประเทศจะได้มุ่งเน้นนำทรัพยากรที่สำคัญไปใช้ในการจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสาธารณสุขจากการเกิดโรคระบาดใหญ่

รายงานฉบับนี้ยังได้เน้นถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างมหาศาลจากการที่ครัวเรือนที่ต้องพึ่งพาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต้องตกอยู่ในภาวะยากจน เช่นภาคการท่องเที่ยวในประเทศไทยและหมู่เกาะแปซิฟิก ภาคการผลิตในกัมพูชาและเวียดนาม และครัวเรือนที่ต้องพึ่งพาแรงงานนอกระบบในทุกประเทศ ในบางประเทศผลกระทบจากโควิด-19 นั้นจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากนี้ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเฉพาะประเทศ เช่น ความแห้งแล้ง (ไทย) หรือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงของสินค้าโภคภัณฑ์ (มองโกเลีย) ในประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก แนวโน้มทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2563 นั้นขึ้นอยู่กับความเสี่ยงมากมายอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องพึ่งพาเงินทุนช่วยเหลือ การท่องเที่ยว และการนำเข้าของประเทศเหล่านั้น

จากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาคนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์วันต่อวัน บทวิเคราะห์ในรายงานนี้อ้างอิงจากข้อมูลระดับประเทศล่าสุด ณ วันที่ 27 มีนาคม

ธนาคารโลกกำลังออกแผนช่วยเหลือเร่งด่วนจำนวนเงิน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับโควิด-19 และลดระยะเวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การรับมือแบบฉับพลันรวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน การให้คำปรึกษาทางด้านนโยบาย และความช่วยเหลือทางด้านวิชาการที่จะช่วยให้ประเทศเหล่านั้นสามารถจัดการกับผลกระทบทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่ได้  IFC กำลังให้เงินช่วยเหลือจำนวน 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ในครั้งนี้และเพื่อรักษาการจ้างงาน   IBRD และ IDA กำลังให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อตอบสนองทางด้านสาธารณสุข ในขณะที่หลายประเทศต้องการความช่วยเหลือมากขึ้น กลุ่มธนาคารโลกจะใช้เงินจำนวน 160,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 15 เดือนนี้เพื่อปกป้องกลุ่มคนที่ยากจนและเปราะบาง  ให้ความช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ และ สนับสนุนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ


ข่าวประชาสัมพันธ์ ที่: 2020/154/EAP

รายชื่อผู้ติดต่อ

Nick Keyes
ในวอชิงตัน
+1 (202) 473-9135
nkeyes@worldbank.org
Marcela Sanchez-Bender
+1 (202) 473-5863
msanchezbender@worldbankgroup.org
Api
Api