กรุงวอชิงตัน ดีซี 13 มกราคม 2558 -- รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects-GEP) จัดพิมพ์โดยธนาคารโลกที่เปิดตัวในวันนี้ รายงานว่า หลังจากที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2557 ที่น่าผิดหวัง ประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโตมากขึ้นในปีนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากราคาน้ำมันดิบลดลง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เข้มแข็งขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และความผันผวนที่น้อยลงของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่
รายงานนี้ซึ่งจัดพิมพ์ปีละ 2 ครั้งยังได้รายงานว่า ในปี 2557 เศรษฐกิจโลกขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2558 นี้จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3 ในปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 และในปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.21 ในปี 2557 ที่ผ่านมาประเทศกำลังพัฒนามีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 4.4 และคาดว่าเขยิบตัวไปอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ในปีนี้ และน่าจะเข้มแข็งถึงร้อยละ 5.3 และ 5.4 ในปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ
“ในสถานการณ์ที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไม่แน่นอน ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรที่มีอย่างรอบคอบเพื่อสนับสนุนโครงการด้านสังคมที่มุ่งเน้นคนยากจน และทำการปฎิรูปโครงสร้างซึ่งเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์” นายจิมยองคิม ประธานกลุ่มธนาคารโลก กล่าว “ประเทศจำเป็นมากที่จะต้องขจัดข้อจำกัดในการลงทุนจากภาคเอกชน ซึ่งเป็นแหล่งสร้างงานที่สำคัญมาก และยังสามารถช่วยให้คนยากจนหลายร้อยล้านคนพ้นจากความยากจน”
ดาวน์โหลดรายงาน Global Economic Prospects (ภาษาอังกฤษ)
ภายใต้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เปราะบางนี้มีความแตกต่างของแนวโน้มของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และอังกฤษกำลังฟื้นตัวเนื่องจากตลาดแรงงานฟื้นและนโยบายทางการเงินยังคงผ่อนคลาย ในทางกลับกัน ประเทศในแถบยุโรปและญี่ปุ่นได้มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างลุ่มๆดอนๆ เนื่องจากผลของภาวะวิกฤติทางการเงินที่ยังคงมีอยู่ ส่วนจีนกำลังชะลอเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง แต่ยังคงเติบโตอย่างเข้มแข็งในระดับร้อยละ 7.1 ต่อปี (จากร้อยละ 7.4 ในปี 2557) และอยู่ที่ร้อยละ 7 ในปี 2559 และร้อยละ 6.9 ในปี 2560 ราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลต่อทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากเรื่องนี้
การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจากปัจจัย 4 ปัจจัย ปัจจัยแรก คือ การค้าโลกที่ยังคงอ่อนแอ ปัจจัยต่อมาคือ ความเป็นไปได้ที่ตลาดเงินจะผันผวนเนื่องจากดุลอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่สำคัญทางเศรษฐกิจจะสูงขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กัน ปัจจัยที่สาม คือ ผลกระทบต่องบการคลังและการค้าของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ปัจจัยสุดท้ายคือ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจในประเทศในเขตยุโรโซนและญี่ปุ่นจะซบเซาหรือประสบภาวะเงินฝืดอย่างยาวนาน
“มีความกังวลอยู่ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สะดุดลงในประเทศที่มีรายได้สูงบางประเทศ หรือแม้กระทั่งประเทศที่มีรายได้ปานกลางบางประเทศจะเป็นการสะท้อนความอ่อนแอทางโครงสร้างเศรษฐกิจระดับลึก” นาย เคาซิค บาซู หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และรองประธานอาวุโส กลุ่มธนาคารโลก กล่าว “ในหลายประเทศ อัตราการเกิดและกลุ่มคนทำงานวัยหนุ่มสาวมีจำนวนน้อยลงส่งผลกระทบทางลบต่อผลิตภาพ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันที่ลดลงซึ่งคาดว่าจะคงตัวอยู่ตลอดปี 2558 ได้ช่วยให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกลดลง และน่าจะส่งผลให้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ร่ำรวยช้าออกไป นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสให้ประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน อาทิ จีนและอินเดีย ซึ่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นที่ร้อยละ 7 ในปี 2559 ประเทศสามารถใช้โอกาสในการสร้างแนวทางในการปฏิรูปด้านการคลังและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในระยะยาว และ สร้างการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม”
ประเทศที่มีรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะเติบโตระดับปานกลางอยู่ที่ร้อยละ 2.2 (จากร้อยละ 1.8 ในปี 2557) และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในปี 2559-2560 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของตลาดแรงงาน การผ่อนคลายด้านงบประมาณ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง และต้นทุนการเงินที่ยังคงต่ำ การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ปีนี้ (จากร้อยละ 2.4 ในปีที่ผ่านมา) ก่อนที่จะชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ และร้อยละ 2.4 ในปี 2559-2560 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำของประเทศในแถบยุโรปมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อ คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้จะซบเซาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ในปีนี้ (จากร้อยละ 1.8 ในปีที่ผ่านมา) และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปี 2559-2560 ในขณะที่ญี่ปุ่นจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในปี 2558 (จากเดิมร้อยละ 0.2 ในปี 2557) และร้อยละ 1.6 ในปี 2559
การค้าโลกจะยังคงอ่อนแอในปี 2558 ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจเป็นต้นมา การขยายตัวของการค้าโลกได้ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่ระดับน้อยกว่าร้อยละ 4 ในปี 2556 และปี 2557 ซึ่งต่ำกว่าระดับการเติบโตในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่มีการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 7 ต่อปี จากการวิเคราะห์ของรายงานฉบับนี้พบว่า การชะลอตัวทางการค้านี้มีปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากอุปสงค์ที่ลดลง และการค้าโลกที่อ่อนไหวน้อยลงต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกซึ่งอาจจะมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่มูลค่าของการผลิตโลกและการเปลี่ยนองค์ประกอบของความต้องการสินค้านำเข้า
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มที่ยังคงอ่อนตัวในปี 2558 จากรายงานพบว่า ราคาน้ำมันที่ตกลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในครึ่งหลังของปี 2557 ได้ช่วยลดความกดดันเรื่องอัตราเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ และช่วยเพิ่มดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการคลังในประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน
“ราคาน้ำมันที่ลดลงทำให้รายได้จำนวนมากเปลี่ยนมือจากประเทศผู้ส่งออกน้ำมันไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาที่นำเข้าน้ำมัน ราคาน้ำมันที่ลดลงในปัจจุบันจึงเป็นโอกาสที่ทั้งประเทศผู้ส่งออกและประเทศผู้นำเข้าน้ำมันจะใช้ดำเนินการปฏิรูป ซึ่งจะช่วยเพิ่มทรัพยากรการคลัง และช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม” นายอายาน โคส ผู้อำนวยการด้านแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจ กลุ่มธนาคารโลกกล่าว
ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในหลายประเทศรายได้ปานกลางขนาดใหญ่ที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของอินเดียปีนี้จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.4 (จากร้ยอละ 5.6 ในปี 2557) และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7 ในปี 2559-2560 ในขณะที่การลดลงของราคาน้ำมันได้ช่วยให้บราซิล อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และตุรกี ลดอัตราเงินเฟ้อ ลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของความเปราะบางทางเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้
อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันที่ยังต่ำอยู่ในขณะนี้จะทำให้เศรษฐกิจประเทศผู้ส่งออกน้ำมันชะลอลง ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจของประเทศรัสเซียคาดการณ์ว่าจะหดตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 ในปี 2558 และคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 0.1 ในปี 2559
ในทางตรงกันข้ามกับประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เศรษฐกิจของประเทศที่มีรายได้ต่ำเข้มแข็งขึ้นในปี 2557 จากการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของภาคบริการอย่างเห็นได้ชัด ผลผลิตทางการเกษตรที่สูง เงินทุนไหลเข้าอยู่ในปริมาณสูง เศรษฐกิจของประเทศที่มีรายได้ต่ำคาดว่าจะยังเติบโตอย่างเข้มแข็งที่ร้อยละ 6 ในปี 2557-2660 ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนลงจะลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีรายได้ต่ำส่งที่ออกสินค้าโภคภัณฑ์
“ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่มาก ประเทศที่มีกรอบนโยบายที่น่าเชื่อถือ และรัฐบาลที่เน้นเรื่องการปฏิรูปจะอยู่ในสถานะที่สามารถพาประเทศผ่านความท้าทายในปี 2558 ไปได้” นางฟรานเชสกา โอนซอจ ผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้กล่าว
1 เมื่อคำนวนความเสมอภาค/ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในปี2553 (จะพบว่า) เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2558 และร้อยละ4.0 ในปี 2559 และปี 2560
สรุปสาระสำคัญของแต่ละภูมิภาค
ภูมิถาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ช้าลงแต่มีความสมดุลมากขึ้น ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคลดลงเป็นร้อยละ 6.9 ในปี 2557 เป็นผลมาจาก นโนบายเศรษฐกิจที่เข้มงวดและสภาวะตึงเครียดทางการเมืองซึ่งทำให้การส่งออกของภูมิภาคไม่โตเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับการฟื้นตัวของประเทศที่มีรายได้สูง (High-income Country) การเติบโตทางเศรษฐกิจได้ถูกประมาณการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.7 ในปี 2015 และคงที่ในปีต่อๆไป แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งภูมิภาคลดลงในปี 2016 ถึง 2560 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีน กล่าวคือการค่อยๆ ลดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการดำเนินมาตรการอย่างรอบคอบเพื่อชะลอการขยายตัวของเงินกู้นอกภาคธนาคารจะทำให้การเติบโตของจีนเหลือเพียงร้อยละ 6.9 ภายในปี 2560 (ลดลงจากร้อยละ 7.4 ในปี 2557) ส่วนประเทศอื่นๆในภูมิภาค นอกเหนือจากจีน การเติบโตทางเศรษฐกิจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 ภายในปี 2560 (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.6 ในปี 2557) โดยการส่งออก การลงทุน และความมั่นคงทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยหลักสนับสนุนการเติบโต
การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาใน ภูมิภาคยุโรปและเอเซียกลาง คาดว่าจะต่ำกว่าตัวเลขประมาณการณ์ที่ร้อยละ 2.4 ในปี 2557 สาเหตุหลักคือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่ต่อเนื่องในทวีปยุโรป และ ภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (stagnation) ในรัสเซีย แต่ในทางตรงกันข้าม การเติบโตทางเศรษฐกิจของตุรกี (ร้อยละ 3.1) กลับสูงกว่าทีได้ประมาณการ์ไว้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้โดยรวมคาดว่าจะฟื้นเป็นร้อยละ 3 ในปี 2558 ร้อยละ 3.6 ในปี 2016 และร้อยละ4 ในปี 2560 แต่ในทิศทางที่แตกต่างกันไป กล่าวคือภาวะเศรษฐกิจซบเซาในรัสเซียฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจในเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States) ที่ซึ่งการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในทวีปยุโรปควรจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และตุรกี สถาณการ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน มาตรการความร่วมมือคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ความเป็นไปได้ที่ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในยุโรปจะมีระยะเวลานาน และการลดต่ำลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยความเสี่ยงสำคัญที่ฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้
การเติบโตทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาคละตินอเมริกาและคาริบเบียน ลดลงอย่างชัดเจน เท่ากับร้อยละ0.8 ในปี 2557 แต่มีการพัฒนาที่แตกต่างกันภายในภูมิภาค โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกาใต้ลดลงอย่างมาเนื่องจากปัจจัยภายในด้านลบ พร้อมทั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศคู่ค้าสำคัญ และราคาสินค้าโภภัณฑ์ทั่วโลกที่ลดต่ำลง ปัจจัยเหล่านี้ได้กระทบต่อประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่บางประเทศในภูมิภาค ในทางตรงกันข้าม การเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกาเหนือ และอเมริกากลางฟื้นตัวขึ้นด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มั่นคงในสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งออกและเงินทุนไหลเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลักของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของประเทศที่มีรายได้สูง และน่าจะทำให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP growth) เป็นร้อยละ 2.6 ในปี 2558 ถึง 2560 อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของภูมิภาคนี้คือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ของจีน และการลดต่ำลงอย่างมากของราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ภายในหลังจากหลายปีของความขัดแย้ง บางประเทศใน ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ เริ่มมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น ถึงแม้ว่าการเติบโตในภูมิภาคจะยังคงอ่อนแอและไม่เสมอภาคกัน การเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศผู้นำออกน้ำมันค่อนข้างทรงตัว ในปี 2557 ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันฟื้นตัวเล็กน้อยจากปี2013 โดยมีความไม่สมดุลทางด้านนโยบายการคลังและปัจจัยภายนอกเป็นสาเหตุสำคัญที่กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ในปี 2560 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ เป็นร้อยละ 3.5 ในปี 2560 (จากร้อยละ1.2 ในปี 2557) ความเสี่ยงของสถานการณ์ความขัดแย้งภายในภูมิภาคและราคาน้ำมันที่ผันแปรปัจจัยสำคัญ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และความท้าทายด้านความมั่นคงจะยังคงมีอยู่ในภูมิภาคนี้ต่อไป ดังนั้นมาตรการแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่มีมาอย่างยาวนานได้ถูกทำให้ล่าช้าออกไปเรื่อยๆ และการว่างงานที่สูงยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องจัดการ อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคาน้ำมันเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภูมิภาคนี้ที่จะยกเลิกภาระเงินสนับสนุนด้านพลังงานสำหรับกลุ่มประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน
ใน ภูมิภาคเอเชียใต้ เศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ในปี 2557 ในระยะเวลา 10 ปี จากร้อยละ 4.9 ในปี 2556 การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเป็นผลมาจากอินเดียซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างพอประมาณในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.8 ภายในปี 2560 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ผ่อนคลายภาวะจำกัดของอุปทานในอินเดีย สถานการณ์ความตึงเครียดที่ลดลงในปากีสถาน การส่งเงินกลับประเทศของบังกลาเทศและเนปาล และอุปสงค์สำหรับอุตสาหกรรมส่งออกของภูมิภาค การปรับเปลี่ยนในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ได้ลดความอ่อนไหวต่อความผันผวนของตลาดการเงินลง ปัจจัยเสี่ยงหลักของภูมิภาคนี้คือปัจจัยภายในและรูปแบบทางการเมือง ดังนั้นการปฏิรูปและรักษาความมั่นคงทางการเมืองอย่างยั่งยืนจึงเป็นสาเหตุสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ใน ภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ เศรษฐกิจขยายตัวเพียงเล็กน้อยในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาค โดยเฉพาะแอฟริกาใต้ การเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะคงที่ในปี2558 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้) โดยส่วนมากเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดต่ำลง และการเติบโตทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.1 ภายในปี 2560 ด้วยการสนับสนุนจากการลงทุนด้านระบบสาธารณูปโถค ผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น และการบริการที่ลอยตัว การคาดการณ์เน้นไปที่ความเสี่ยงด้านลบซึ่งเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้ออีโบล่า การจลาจลที่มีความรุนแรง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง และสถานการณ์การเงินโลกที่มีความผันผวน ดังนั้นนโยบายที่ต้องให้ความสำคัญอันดับต้นๆต้องรวมถึงการจำกัดวงเงินงบประมาณสำหรับบางประเทศในภูมิภาค และการโยกการใช้จ่ายของภาครัฐไปยังภาคที่มีศักยภาพการผลิตสูง โดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภคที่ยังคงเป็นปัญหา การเลือกโปรเจคและการบริหารจัดการสามารถพัฒนาได้ด้วยความโปร่งใสและการตรวจสอบที่ดีขึ้นในการใช้ทรัพยากรของชาติ