Skip to Main Navigation
ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะชะลอตัวลงปี 2557

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557


การประมาณการพบว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคจะเติบโตเกือบร้อยละ 7 ในปีนี้และปีหน้า

สิงคโปร์ วันที่ 6 ตุลาคม 2557รายงาน East Asia Pacific Economic Update ของธนาคารโลกที่เปิดตัววันนี้พบว่า ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย  แต่จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยไม่รวมประเทศจีนสูงขึ้นในปีหน้า เนื่องจากการเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงได้ฟื้นตัวขึ้น และช่วยเพิ่มความต้องการสินค้าส่งออกจากภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกยังคงเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตมากที่สุดในโลก

รายงานพบว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะเติบโตร้อยละ 6.9 ในปีนี้และปีหน้า ซึ่งลดลงจากปี 2556 ที่มีการเติบโตร้อยละ 7.2 สำหรับประเทศจีนจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 7.4 ในปีนี้ และร้อยละ 7.2 ใน 2558 เนื่องจากรัฐบาลพยายามผลักดันเศรษฐกิจไปในทางที่ยั่งยืนด้วยนโยบายที่แก้ปัญหาเรื่องความเสี่ยงและข้อจำกัดทางโครงสร้างทางการเงิน หากไม่รวมประเทศจีน อัตราการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคสำหรับปีนี้คาดว่าจะตกลงไปอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ในปีนี้ ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 ในปี 2558 เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นและการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายแอ็กเซล ฟาน ทรอตเซนบวร์ก รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวว่า “เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกยังคงมีศักยภาพที่จะเติบโตในอัตราที่สูงขึ้น และเร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่นๆ ถ้าหากผู้กำหนดนโยบายสามารถทำให้วาระการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศสำเร็จได้  ซึ่งรวมถึงการลดอุปสรรคในการลงทุนภายในประเทศ การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก และการใช้หลักเหตุผลในการใช้จ่ายภาครัฐ”

แม้ว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้โดยรวมจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่ผลที่ได้รับจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้านการลงทุนและการส่งออกของแต่ละประเทศ ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชา อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สามารถเพิ่มอัตราการส่งออกสะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการอย่างดีต่อห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกและภูมิภาค (global and regional value chains) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการค้าโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

รายงานฉบับนี้ได้ปรับคาดการณ์ของธนาคารโลกในปี 2557 สำหรับมาเลเซียเป็นร้อยละ 5.7 จากร้อยละ 4.9 ในเดือนเมษายน เนื่องจากการส่งออกที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก สำหรับกัมพูชานั้นถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 7.2 ในปี 2557 เนื่องจากแรงหนุนในการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยถูกคาดการณ์ว่าจะได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเช่นกัน เนื่องจากมีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับห่วงโซ่การผลิตโลก หากยังรักษาสถานการณ์ทางการเมืองไว้ได้

แต่สำหรับอินโดนีเซีย เศรษฐกิจยังคงขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ โดยปีนี้มีการเติบโตลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.2 จากร้อยละ 5.8 ในปี 2556 เนื่องจากข้อจำกัดด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง การบริโภคของภาครัฐที่ต่ำกว่าที่ประมาณไว้ และการชะลอตัวของการขยายการให้สินเชื่อ

จุดเด่นของเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ คือ การบริโภคของภาคเอกชนที่แข็งแร่ง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ เช่น การใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศอินโดนีเซีย และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งในมาเลเซีย ในประเทศฟิลิปปินส์ การขยายตัวของเงินส่งกลับประเทศทำให้การบริโภคของภาคเอกชนสูงขึ้นคิดเป็นสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยคาดการณ์ว่าอยู่ที่ร้อยละ 6.4 ในปีนี้ และร้อยละ 6.7 ในปี 2557 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศพม่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.5 ในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากมีการปฏิรูปทางสถาบันและนโยบาย และกลับมามีการร่วมมือกับต่างประเทศอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตของภูมิภาค   กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแถบยุโรปและประเทศญี่ปุ่นอาจจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านลบในระยะอันใกล้  สภาวะทางการเงินของโลกอาจรัดกุมมากยิ่งขึ้น และความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศและภูมิภาคอาจกระทบต่อนักลงทุน (prospects)  ภูมิภาคยังคงมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของจีน แม้ว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นก็ตาม อาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลหะ (hard) เช่น ผู้ส่งออกโลหะในประเทศมองโกเลีย และผู้ส่งออกถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย

นายชูเดียร์ เช็ตตี้ (Sudhir Shetty) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า“วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการความเสี่ยงสำหรับประเทศในภูมิภาคนี้ คือ การแก้ปัญหาความไม่มั่นคงที่มีสาเหตุมาจากนโยบายทางการเงินและการคลังในอดีต เพิ่มมาตรการด้านการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันงด้านการส่งออก”

รายงานฉบับนี้ยังได้เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับประเทศต่างๆ ในการจัดการความเสี่ยงและดำเนินการตามแนวทางไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อาทิ ประเทศมองโกเลียและลาวจะต้องลดการขาดดุลการคลังและกำชับนโยบายทางการเงิน สำหรับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ควรจะมีมาตรการสนับสนุนรายได้ของรัฐและลดเงินอุดหนุนคนยากจนซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตเพื่อกระตุ้นการลงุทน และลดภาระค่าใช้จ่าย (poverty-reducing spending) ขณะเดียวก็จะช่วยสร้างความมั่นคงทางการคลัง (fiscal buffers)

สำหรับประเทศจีน เนื่องจากรัฐบาลกำลังหาแนวทางสร้างสมดุลระหว่างการควบคุมความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นกับการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้ตามอัตราที่ตั้งไว้ รายงานได้ระบุว่าการปฏิรูปโครงสร้างในภาคส่วนที่เคยสงวนไว้เป็นรัฐวิสาหกิจและบริการของรัฐจะสามารถช่วยชดเชยผลกระทบของมาตรการควบคุมหนี้สาธารณะและควบคุมธนาคารเงา (shadow banking)

นอกจากนี้ ในรายงานยังกล่าวถึงการปฏิรูปทางโครงสร้างในระยะยาวที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การปฏิรูปที่สำคัญได้แก่ การลงทุนเพิ่มเติมในโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาการโลจิสติกส์ด้านการค้า (trade logistics) การเปิดเสรีด้านการบริการและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และเนื่องจากระบบการศึกษาของหลายๆ ประเทศในภูมิภาคยังไม่สร้างทักษะที่จำเป็นในตลาดแรงาน รายงานฉบับนี้จึงแนะนำยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมสำหรับการแก้ปัญหาตั้งแต่การพัฒนาเด็กปฐมวัย การศึกษาระดับสูง รวมถึงไปถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต

รายงานเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (East Asia Pacific Economic Update) เป็นรายงานการวิเคราะห์เศรษฐกิจของภูมิภาคจัดทำโดยธนาคารโลก เผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง และสามารถติดตามได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ https://www.worldbank.org/eapupdate.



สื่อมวลชนโปรดติดต่อ
ใน วอชิงตัน
เจน ซัง
โทร: +1 (202) 473-1376
janezhang@worldbank.org
ใน สิงคโปร์
ดีนี่ ดีจาลาล
โทร: +62-21-5299-3156
ddjalal@worldbank.org


ข่าวประชาสัมพันธ์ ที่:
2015/128/EAP

Api
Api

Welcome