Skip to Main Navigation
publication

รายงาน East Asia Pacific Economic Update, ตุลาคม 2557 - Enhancing Competitiveness in an Uncertain World


Image

ประเด็นสำคัญ

  • การเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะชะลอลงเล็กน้อย แต่จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยไม่รวมประเทศจีนจะสูงขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงที่ค่อยๆ ฟื้นตัวทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกจากภูมิภาคเพิ่มขึ้น
  • กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกยังคงเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก
  • กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะเติบโตร้อยละ 6.9 ในปีนี้และปีหน้า ซึ่งลดลงจากปี 2556 ที่มีการเติบโตร้อยละ 7.2
  • หากไม่นับรวมประเทศจีน คาดว่าประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคสำหรับปีนี้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 ในปี 2558 เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นและการปรับตัวภายในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำเร็จเสร็จสิ้น
  • การเศรษฐกิจโลก จะส่งผลบวกต่อประเทศเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางการลงทุนและส่งออกของประเทศนั้นๆ
  • ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชาอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะสามารถเพิ่มอัตราการส่งออก อาทิ มาเลเซียจะเติบโตขึ้นเป็นร้อยละ 5.7 จากร้อยละ 4.9 ในรายงานฉบับเดือนเมษายน เนื่องจากการส่งออกที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก
  • ในปีนี้ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเศรษฐกิจยังคงขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ การเติบโตลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.2 จากร้อยละ 5.8 ในปี 2556 เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง การบริโภคภาครัฐที่ต่ำกกว่าประมาณการ และการขยายการสินเชื่อที่ชะลอตัวลง
  • เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มีแรงสนับสนุนจากการบริโภคของภาคเอกชนที่แข็งแร่ง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ เช่น การใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศอินโดนีเซีย ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งในมาเลเซีย การส่งเงินรายได้กลับประเทศของประเทศฟิลิปปินส์
  • อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน
  • หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเกิดหยุดชะงัก หากสภาวะทางการเงินของโลกจะรัดตัวมากขึ้น หรือหากมีความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศและภูมิภาคเกิดขึ้น  แนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะเผชิญความท้าทายเพิ่มมากขึ้น
  • เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ยังคงมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของจีน แม้ว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นก็ตาม แต่หากเกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์  อาทิ ผู้ส่งออกโลหะในประเทศมองโกเลีย และผู้ส่งออกถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย
  • วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการความเสี่ยงสำหรับประเทศในภูมิภาคนี้ คือ การแก้ปัญหาความไม่มั่นคงและความไม่มีประสิทธิภาพที่มีสาเหตุมาจากการขยายระยะเวลาการผ่อนปรนของนโยบายทางการเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการใช้มาตรการทางการคลังและเพิ่มการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการส่งออก
  • ตัวอย่างเช่น ประเทศมองโกเลียและลาวจะต้องลดการขาดดุลการคลังและลดการผ่อนปรนของนโยบายทางการเงิน
  • ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย มาตรการที่จะเพิ่มรายได้ภาครัฐและลดเงินอุดหนุที่ไม่มีเป้าหมายกลุ่มคนที่ต้องการช่วยอย่างชัดเจนจะทำให้รัฐเพิ่มงบประมาณมากจขึ้นสำหรับการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลิตภาพภายในประเทศและลดความยากจน และค่อยๆ สร้างความแข็งแกร่งทางการคลัง
  • ในประเทศจีน ขณะที่รัฐบาลกำลังหาวิธีสร้างสมดุลระหว่างการควบคุมความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นกับการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจตามอัตราที่ตั้งไว้นั้น รายงานได้ระบุว่าการปฏิรูปโครงสร้างในภาคส่วนที่เคยสงวนไว้สำหรับรัฐวิสาหกิจและบริการของรัฐจะสามารถช่วยชดเชยผลกระทบของมาตรการควบคุมหนี้สาธารณะของรัฐบาลท้องถิ่นและควบคุมธนาคารเงา (shadow banking)

 

§  ในระยะยาว รายงานนี้สนับสนุนให้แต่ละประเทศมีการการปฏิรูปทางโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก และใช้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกให้มากที่สุด

 

การปฏิรูปที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์  การเปิดเสรีด้านการบริการและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ






Welcome