Skip to Main Navigation
publication วันที่ 22 มิถุนายน 2564

ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์มหภาคและการคลังจากการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นในประเทศไทย

Image

ประเด็นสำคัญ

  • ประเทศไทยกำลังมีประชากรสูงวัยในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรก้าวล้ำหน้าระดับรายได้เกินกว่าที่ควรจะเป็น
  • มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวมีแนวโน้มที่จะลดลงในช่วงปีพ.ศ. 2563 และ 2593 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ต่อเนื่องจากการเติบโตที่มีทิศทางดิ่งลงอยู่ในปัจจุบัน
  • การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรมีส่วนเกินครึ่งที่ทำให้เกิดการลดลงตามการคาดการณ์ดังกล่าว การลดลงนี้เป็นผลมาจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำและการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นซึ่งนำไปสู่การลดลงของการเพิ่มจำนวนประชากรและจำนวนประชากรในวัยทำงาน
  • ผลถ่วงดุลบางอย่าง เช่น จากอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นหรือการพัฒนาทุนมนุษย์สามารถบรรเทาหรือกระทั่งชดเชยผลกระทบทางลบของการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นที่มีต่อการเติบโตในระยะยาวได้
  • ผลกระทบที่ยาวนานจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจส่งผลฉุดการเติบโตในระยะยาวได้หากว่าเกิดการถดถอยของการลงทุน การเสื่อมถอยของทุนมนุษย์ หรือการหดตัวของการค้าโลก
  • แบบแผนการออมของภาคเอกชนในประเทศไทยแปรผันตามอัตราการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น
  • การพยากรณ์แบบมีเงื่อนไขแสดงว่าการออมของภาคเอกชนน่าจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหนึ่งทศวรรษครึ่งถัดจากนี้และจะตกลงหลังจากนั้น และคาดว่าในปีพ.ศ. 2593 จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าปีพ.ศ. 2562
  • ต้นทุนทางการคลังรวมของระบบบำนาญของข้าราชการพลเรือน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และการรักษาพยาบาลได้รับการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปีพ.ศ. 2563 เป็นร้อยละ 11.3 ในปีพ.ศ. 2603
  • มาตรการเชิงนโยบายในการบรรเทาผลกระทบทางลบจากการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นที่มีต่อการเติบโตระยะยาวควรมุ่งเป้าที่จะเพิ่มทั้งจำนวนและผลิตภาพของกำลังแรงงาน
  • เพื่อความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว จำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปตลาดแรงงานและนโยบายการคลัง ตลอดจนระบบความคุ้มครองทางสังคม ระบบบำนาญ และระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว