เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณที่จะฟื้นตัว การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะเป็นส่วนสำคัญที่สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- เศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ร้อยละ 2.8 ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อเทียบกับร้อยละ 0.9 ในปีพ.ศ. 2557
- คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ร้อยละ 2.5 ในปีพ.ศ. 2559 โดยมีการท่องเที่ยวและนโยบายทางการคลังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
- การลงทุนจากต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากความต้องการจากภายนอกลดลงและความไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
- การดำเนินโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในช่วงปีพ.ศ. 2559 และ 2560 อย่างทันการจะช่วยเสริมให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ
- การลดความยากจนคาดว่าจะลดลงอย่างช้าๆ โดยครัวเรือนยากจนในชนบทที่ห่างไกลจะได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรลดลง
- การชะลอตัวของเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะทำให้เกิดความท้าทายด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ อาทิ การดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐ การแข่งขันด้านการส่งออกที่ยังมีแนวโน้มไม่สดใส และแรงงานที่มีทักษะไม่ตรงกับความต้องการ ดังนั้น การดำเนินการปฏิรูปควรให้ความสำคัญกับประเด็นท้าทายเหล่านี้ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญต่อการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ประชากรสูงวัยของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อสัดส่วนประชากรวัยทำงานลดลงจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- ในปีพ.ศ. 2559 นี้ ประชากรของไทยร้อยละ 11 หรือประมาณ 7,500,000 คนมีอายุ 65 ปี หรือมากกว่านั้น เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2538 ซึ่งมีสัดส่วนประชากรวัยเดียวกันนี้เพียงร้อยละ 5
- ในปีพ.ศ. 2583 คาดการณ์ว่าจะมีประชากรไทยที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปถึง 17 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ
- เช่นเดียวกันกับจีน ไทยมีสัดส่วนประชากรสูงวัยมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
- ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสังคมสูงวัยคือการเกิดลดลงอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ 6.1 ในปี พ.ศ. 2508 เหลือเพียงร้อยละ 1.5 ในปีพ.ศ. 2558 อันเป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น และระดับการศึกษาที่สูงขึ้น รวมถึงความสำเร็จของโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติที่ได้ดำเนินการเมื่อปีพ.ศ. 2513
- ประชากรวัยทำงานคาดว่าจะลดลงร้อยละ 11 โดยจะลดลงจากจำนวน 49 ล้านคนในปีนี้เหลือ 40.5 ล้านคนในปีพ.ศ. 2583
- การลดลงของประชากรวัยทำงานของไทยนับว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกซึ่งรวมประเทศจีนด้วย
การปรับเปลี่ยนด้านประชากรของไทยทำให้เกิดความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ
- ด้านตลาดแรงงาน เรื่องที่สำคัญเป็นลำดับต้นคือการลดผลกระทบจากการที่ประชากรวัยทำงานลดลงและการเพิ่มผลิตภาพในกำลังแรงงานที่กำลังลดจำนวนลง
- ค่าใช้จ่ายเรื่องบำนาญ การดูแลสุขภาพ และระบบการดูแลผู้สูงวัยในระยะยาวจะทำให้เกิดภาระด้านการเงินในระยะยาว
- ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรนี้ทำให้สถาณะของไทยเปลี่ยนเป็นผู้ให้บริการแก่ประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคนี้
- การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้ประเทศไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ควรรวมประเด็นเรื่องสูงวัยทวีความสำคัญเนื่องจากไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว