publication

เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกับการทำงาน การจ้างงาน วิสาหกิจ และสภาพความเป็นอยู่



8 พฤษภาคม 2557

ประเด็นสำคัญ

  • ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกได้ประจักษ์ต่อความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และการที่ประชากรโยกย้ายเข้าสู่เมืองเป็นจำนวนมาก ตลอดจนผลผลิตจากภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิต และภาคการบริการที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศที่เคยตกอยู่ในภาวะยากจนเมื่อประชากรรุ่นก่อนหน้านี้ กลับประสบความสำเร็จในการบูรณาการตนเองเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของโลกได้โดยอาศัยข้อได้เปรียบด้านค่าแรงที่ต่ำกว่า
  • การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้เปิดโอกาสในการจ้างงาน และยกระดับประชากรนับล้านคนให้พ้นจากความยากจน และยังนับเป็นชัยชนะของประชากรผู้ใช้แรงงาน สัดส่วนของประชากรทำงานหรือที่กำลังหางานทำในประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมถึงผู้หญิงด้วย อยู่ในอัตราสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีรายได้อยู่ในระดับเดียวกัน
  • นโยบายการจ้างงานในปัจจุบัน แม้จะได้รับการเขียนไว้อย่างเข้มงวด หากแต่มักถูกนำไปบังคับใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ประสบความล้มเหลวในการให้ผลประโยชน์แก่แรงงานส่วนใหญ่ แต่กลับให้ประโยชน์แก่ประชากรในวัยทำงานในการจ้างงานแบบรับค่าจ้างเป็นเงินเดือน มากกว่าประชากรเพศหญิง เยาวชน และแรงงานไร้ฝีมือ หลักฐานจากการศึกษาวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ถีบตัวขึ้นในอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ได้ลดโอกาสในการจ้างงานของประชากรเพศหญิง เยาวชน และแรงงานไร้ฝีมือลงอย่างผิดสัดส่วน
  • ทั่วทั้งภูมิภาค กว่าร้อยละ 30 ของประชากรที่อยู่ในช่วงอายุ 15 – 24 ปี ถูกเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิง ประชากรเหล่านี้ไม่มีงานทำ และไม่แม้แต่ได้รับการศึกษาหรือการฝึกอบรม ซึ่งส่งผลให้เกิดการแยกส่วนและกีดกันตลาดแรงงาน ตลอดจนความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบและความรุนแรงทางสังคม ในขณะเดียวกัน ค่าแรงของแรงงานมีฝีมือที่เพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลประโยชน์มาจากนโยบายในปัจจุบัน ก็ได้นำไปสู่ความไม่เสมอภาคที่เพิ่มขึ้นในบางประเทศ
  • ประเด็นดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเร่งด่วนขึ้นมา เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเริ่มชะลอตัวลง และค่าแรงถีบตัวสูงขึ้น หลักฐานจากรายงานนำเสนอให้ผู้กำหนดนโยบายควรเร่งนำกฎระเบียบด้านแรงงานและนโยบายความคุ้มครองทางสังคมมาบังคับใช้ เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อแรงงานทุกคน รวมถึงแรงงานนอกระบบที่มีจำนวนมากด้วย

ข้อเสนอแนะ

  • การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและประชากรที่เกิดขึ้นในภูมิภาค รวมถึงประวัติศาสตร์แรงงานที่ยังไม่ยาวนานมากนัก ส่งผลให้เกิดโอกาสให้กับหลายต่อหลายประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ที่จะนำแบบจำลองความคุ้มครองทางสังคมแบบใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำลง มาปฏิบัติได้มากกว่าประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ที่มีนโยบายอันถูกกำหนดมายาวนานกว่า
  • ถึงเวลาแล้วที่จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจมีความมั่นคงด้วยนโยบายทางสังคมที่ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ไม่ใช่เพียงเฉพาะกับภาคส่วนใด ในพื้นที่ใด หรือเพื่อกลุ่มอาชีพใด เพียงกลุ่มเดียว นโยบายที่ดีควรร่างมาเพื่อให้การคุ้มครองทางสังคม และกฎระเบียบแรงงานได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดให้กับแรงงานที่ด้อยโอกาสที่สุดในสังคมได้
  • แผนรองรับการว่างงานที่ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินในระดับประเทศและมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้นายจ้างสามารถหลีกเลี่ยงแผนประกันสุขภาพราคาแพง แล้วยังช่วยลดภาษีแรงงาน รวมถึงส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าสู่ระบบได้ ตัวอย่างเช่น นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย นับเป็นรูปแบบการประกันสังคมที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย ที่อาจสูงจนทำให้สิ้นเนื้อประดาตัว ตลอดจนนำไปสู่การใช้บริการทางการแพทย์ที่แพร่หลายมากขึ้น
  • เป็นที่แน่นอนว่า เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกมีความหลากหลายสูง ตั้งแต่ ที่ส่วนใหญ่เป็นชนบท ไปจนถึงที่เป็นเมือง และหมู่เกาะเล็กๆ ที่ห่างไกล ฉะนั้นการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายจึงแตกต่างกันออกไป
    • สำหรับหลายๆ ประเทศที่ยังคงพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลักนั้น ผู้กำหนดนโยบายควรมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภาพทางเกษตรกรรม รวมทั้งส่งเสริมธุรกิจนอกเหนือจากการเกษตร
    • สำหรับเศรษฐกิจแบบเมือง รัฐบาลมุ่งเน้นการสร้างให้ชุมชนเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาการให้บริการ
  • ประเด็นที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ได้แก่ ประเทศต่างๆ ควร มองไปให้ไกลกว่าตลาดแรงงาน และให้ความสำคัญไปที่ประเด็นพื้นฐานต่างๆ อาทิ นโยบายต่างๆ ที่สามารถสร้างเสถียรภาพให้กับราคาสินค้า ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและการคิดค้นนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนกรอบกฏระเบียบที่ช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและย่อม ซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้จ้างงานแก่คนส่วนใหญ่ในภูมิภาค



Image
East Asia Pacific at Work: Employment, Enterprise and Well-Being
ประเด็นสำคัญในภาษาอังกฤษ




Welcome