ประเด็นสำคัญ
- ประชากรวัยทำงานในประเทศไทยมีจำนวน 57 ล้านคนในปีพ.ศ. 2562 โดยร้อยละ 67 อยู่ในตลาดแรงงาน กำลังแรงงานที่มีอยู่ประมาณ 38 ล้านคนนี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับหกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกและเป็นอันดับสี่ในกลุ่มประเทศอาเซียน
- ตลาดแรงงานของไทยประสบปัญหาท้าทายหลายประการ คือ การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานที่ถดถอยลง การเปลี่ยนย้ายงานออกจากภาคการเกษตรอย่างช้าๆ และอัตราการจ้างงานนอกระบบสูง
- ในช่วงปีพ.ศ. 2555 – 2562 กำลังแรงงานมีจำนวนลดลงกว่า 1.2 ล้านคน
- ภาคการเกษตรยังคงใช้แรงงานราวร้อยละ 33 ของแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย เทียบกับร้อยละ 23 ในฟิลิปปินส์ ร้อยละ 10 ในมาเลเซีย และร้อยละ 5 ในสาธารณรัฐเกาหลี
- ร้อยละ 54 ของการจ้างงานเป็นการจ้างงานนอกระบบในปีพ.ศ. 2562
- ผู้สูงวัยประสบอุปสรรคในตลาดแรงงานเนื่องจาก ภาระหน้าที่ในการดูแล ปัญหาสุขภาพ และระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า
- อุปสรรคเหล่านี้จะยุ่งยากซับซ้อนขึ้นด้วยการมีกลุ่มประชากรเข้าสู่วัยสูงอายุที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนของประชากรในวัย 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มจากร้อยละ 13 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 31 ในปีพ.ศ. 2603
- มีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนประชากรในวัยทำงานจะลดลงจากร้อยละ 71 ในปีพ.ศ. 2563 เป็นร้อยละ 56 ในปีพ.ศ. 2603 เท่ากับว่ามีประชากรในวัยทำงานลดลงถึงเกือบร้อยละ 30 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก รองจากสาธารณรัฐเกาหลี (ร้อยละ 43) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 34)
- การมีสัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นในขณะที่ประเทศไทยยังมีระดับรายได้ค่อนข้างต่ำ ประเทศที่มีสัดส่วนคนสูงวัยมากกว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก คือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรประมาณ 41,000 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเวลาที่อัตราส่วนการเป็นภาระพึ่งพิงในวัยสูงอายุอยู่ในระดับเดียวกับของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งสูงกว่าสองเท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรของไทยในปัจจุบัน
- การมีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากขึ้นอาจส่งผลทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การมีสัดส่วนประชากรในวัยทำงานลดลงในประเทศไทยหมายถึงการฉุดรั้งการเติบโตของรายได้ต่อหัวประชากร การคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นชี้ว่าหากไม่มีการปรับใดๆ ลักษณะประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปจะฉุดการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรให้ลดลงถึงร้อยละ 0.86 ในทศวรรษ 2020 (ที่มา: Park and Shin 2011)
- รายงานนี้แสดงให้เห็นว่าหากให้อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานตามอายุและเพศสภาพอยู่ในระดับคงที่ การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรที่คาดการณ์ในประเทศไทยจะนำไปสู่การลดลงของอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานโดยรวมราว 5 จุดร้อยละในช่วงปีพ.ศ. 2563 และ 2603 และการลดลงของกำลังแรงงานทั้งหมดถึง 14.4 ล้านคน
- แต่ผลกระทบทางลบจากการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นสามารถหลีกเลี่ยงได้โดย
- ขยายอุปทานแรงงาน
- อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาพดีที่ยืนยาวขึ้นหมายความว่าคนสูงอายุมีแนวโน้มที่จะสามารถทำงานได้ยาวนานขึ้น
- ช่องว่างที่ห่างกันมากระหว่างการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้ชายและผู้หญิงหมายความว่า มีศักยภาพสูงมากในอุปทานแรงงานของผู้หญิงที่จะนำมาใช้ได้
- แรงงานข้ามชาติช่วยอุดช่องว่างในกำลังแรงงานของไทยมาตลอดทศวรรษที่ผ่านๆ มา และสามารถช่วยได้มากขึ้นไปอีกในอนาคต
- เพิ่มผลิตภาพแรงงาน
- กำลังแรงงานที่มีผลิตภาพสูงขึ้นสามารถชดเชยกับจำนวนที่ลดลงไปได้
- กำลังแรงงานที่มีผลิตภาพสูงขึ้นสามารถชดเชยกับจำนวนที่ลดลงไปได้
- ขยายอุปทานแรงงาน
มีหลายนโยบายที่สำคัญและจำเป็นในการลดทอนผลกระทบทางลบและเสริมผลกระทบทางบวกของการมีประชากรสูงวัยขึ้นในประเทศไทยได้ คือ
- นโยบายการขยายอายุการทำงานของผู้สูงอายุ
- นโยบายการขยายการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้หญิง
- การปรับปรุงระบบการย้ายถิ่นของแรงงานให้ดีขึ้น
- การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ใช้โอกาสที่เกิดขึ้นจากการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นให้เป็นประโยชน์