Skip to Main Navigation

บทบาทของภาคบริการในการสนับสนุนการพัฒนา: รายงานอัพเดทเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ตุลาคม 2566

ค้นพบรายงาน:

เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (East Asia and Pacific: EAP) ส่วนใหญ่ ไม่รวมประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก ขยายตัวเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลก แต่ยังคงช้ากว่าในช่วงก่อนการระบาด ซึ่งศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคถูกกำหนดโดยพัฒนาการจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ

The World Bank

อ่านเนื้อหาส่วนนี้ของรายงาน

ใช้งานบนคอมพิวเตอร์  | ใช้งานบนมือถือ

ภูมิภาค EAP เผชิญกับปัญหาในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและสภาวะทางการเงินที่ตึงตัว แต่คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ในปี พ.ศ. 2567 แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคยังคงสูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในขณะที่เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะชะลอตัวลง

อ่านเนื้อหาส่วนนี้ของรายงาน

ใช้งานบนคอมพิวเตอร์  | ใช้งานบนมือถือ

ในทศวรรษที่ผ่านมา การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค EAP สูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ แต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มดังกล่าวเกิดจากการสะสมทุนมากกว่าการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพการผลิต บริษัทต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดผลิตภาพการผลิต และในขณะที่การชะลอตัวของผลิตภาพการผลิตเกิดขึ้นทั่วโลก แต่บริษัทชั้นนำในประเทศเศรษฐกิจหลักยังสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาค EAP บริษัทที่มีการพัฒนาล่าช้าได้เร่งการพัฒนาเพื่อไล่ตามบริษัทชั้นนำ ในขณะที่บริษัทชั้นนำกลับเผชิญกับปัญหาการพัฒนาที่ล่าช้าและไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างเต็มที่

อ่านเนื้อหาส่วนนี้ของรายงาน

ใช้งานบนคอมพิวเตอร์  | ใช้งานบนมือถือ

ประเด็นนโยบายที่มีการกล่าวถึงในรายงานอัพเดตเศรษฐกิจฉบับล่าสุด

รายงานอัพเดตเศรษฐกิจฉบับก่อนหน้าได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายอื่น ๆ หลายประการ รวมถึง:

(1) การฉีดวัคซีน เพื่อควบคุมโรคโควิด-19
(2) นโยบายการคลัง เพื่อการเยียวยา การฟื้นฟู และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(3) นโยบายสภาพภูมิอากาศ เพื่อการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
(4) การควบคุมโรคโควิด-19 อย่างชาญฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ่านมาตรการที่ไม่ใช่ยา เช่น การทดสอบ-การติดตาม-การแยกเชื้อ
(5) การศึกษาอัจฉริยะ เพื่อป้องกันการสูญเสียทุนมนุษย์ในระยะยาว โดยเฉพาะสำหรับคนยากจน
(6) การคุ้มครองทางสังคม เพื่อช่วยให้ครัวเรือนคงการบริโภคได้อย่างราบรื่น และแรงงานกลับมาทำงานตามการฟื้นตัวของประเทศ
(7) การสนับสนุนธุรกิจ ในการป้องกันการล้มละลายและการว่างงาน โดยไม่ขัดขวางการจัดสรรแรงงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
(8) นโยบายการเงิน ที่สนับสนุนการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน
(9) การปฏิรูปการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการที่ยังได้รับการคุ้มครอง เช่น การเงิน การขนส่ง การสื่อสาร เพื่อเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจ หลีกเลี่ยงแรงกดดันในการปกป้องสาขาอื่น ๆ และจัดเตรียมกำลังแรงงานให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสทางดิจิทัลที่มีการเร่งตัวขึ้นเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19
(10) การสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ และสร้างความมั่นใจในการเข้าถึง เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างเท่าเทียม
(11) นโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีมาใช้
(12) นโยบายในการจัดการกับการบิดเบือนตลาดทั้งเก่าและใหม่ในด้านอาหาร พลังงาน และการเงิน
(13) นโยบายในการเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญของการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(14) นโยบายเพื่อควบคุมและใช้ประโยชน์จากศักยภาพของการบริการเพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน