Skip to Main Navigation
ข่าวประชาสัมพันธ์ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

รายงาน Doing Business ปีนี้จัดอันดับประเทศไทยสูงขึ้น ประเทศไทยติด 1 ใน 10

ประเทศที่ปฎิรูปมากที่สุดในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของการประกอบธุรกิจ

กรุงเทพฯ 1 พฤศจิกายน 2560 รายงาน Doing Business เล่มล่าสุดของกลุ่มธนาคารโลกได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 26 จากทั้งหมด 190 ประเทศทั่วโลกที่มีความสะดวกในการประกอบธุรกิจสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากเดิมที่อยู่ในลำดับที่ 48 เมื่อเทียบกับระเบียบวิธีการวัดของปีที่แล้วกับปีปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเทศไทยจัดเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสะดวกในการประกอบธุรกิจมากที่สุดในปีที่ผ่านมา

รายงาน Doing Business 2018: การปฏิรูปเพื่อสร้างงานที่เปิดตัววันนี้ พบว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีการปฏิรูป 8 ด้านนับเป็นจำนวนที่น่าบันทึกไว้สำหรับประเทศไทยที่สามารถทำได้ในเวลาเพียง 1 ปี

“นอกจากการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจผ่านทางมาตรา 44 แล้ว กำลังดำเนินการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อผลักดันให้ระบบดังกล่าวเปิดให้บริการได้ภายในปีพ.ศ. 2562” นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กล่าว

“ประเทศไทยได้มีความก้าวหน้าอย่างมากจากการปฏิรูปการประกอบธุรกิจในปีที่ผ่านมาภายใต้การนำของผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ” นายอูลริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย มาเลเซีย และความร่วมมือในภูมิภาค กล่าว “ปีนี้ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 26 และสามารถไต่ขึ้นมาติดอยู่ในกลุ่มร้อยละ 15 ประเทศที่ทำให้การประกอบธุรกิจง่ายขึ้น นับว่าประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายสำคัญ เราหวังที่จะร่วมมือกับประเทศไทยเพื่อสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่แข้มแข็ง และสร้างงานที่ดีให้กับคนไทยทั่วทั้งประเทศ”

การปรับปรุงที่สำคัญหลายด้านเพื่อเพิ่มความสะดวกในการประกอบธุรกิจปรากฎผลให้เห็นอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยยกเลิกข้อบังคับที่ต้องมีตราประทับของบริษัท และยกเลิกขั้นตอนการขออนุมัติจากกรมแรงงานในการส่งกฏข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ดังนั้นการเริ่มต้นธุรกิจจึงใช้เวลาเพียง 4.5 วัน เมื่อเทียบกับ 27.5 วันเมื่อปีก่อน

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ดำเนินการปฏิรูปในหลายเรื่อง อาทิ การนำระบบตรวจสอบตามความเสี่ยงอัตโนมัติเพื่อคัดเลือกบริษัทที่ควรจะได้รับการตรวจสอบภาษี การลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์สิน การบัญญัติกฏหมายหลักประกันทางธุรกิจเพื่อขยายขอบเขตของทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ และปัจจุบันได้นำระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศมาใช้สำหรับการขอใช้ไฟฟ้า

ประเทศไทยยังคงดำเนินการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยเน้นด้านที่มีช่องทางให้ปรับปรุงเพิ่มเติมได้อีก อาทิ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง การจดทะเบียนทรัพย์สิน และการชำระภาษี ตัวอย่างเช่น การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงต้องใช้เวลา 420 วันเมื่อเทียบกับแนวปฏิบัติที่ดีเลิศจากสิงค์โปร์ที่ใช้เวลา 164 วัน ค่าใช้จ่ายในการโอนทะเบียนทรัพย์สินของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 7.3 ของมูลค่าทรัพย์สินซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคร้อยละ 4.3 แม้ว่าประเทศไทยได้ทำให้กฏหมายการชำระภาษีสะดวกขึ้นแล้ว แต่ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ลำดับที่ 67 ของโลกในด้านนี้เนื่องจากใช้เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการจัดเตรียม บันทึกข้อมูล และชำระภาษีถึง 262 ชั่วโมง

รายงาน Doing Business ปีนี้ได้รวมกรณีศึกษาที่เน้นให้เห็นถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการปฎิรูปด้านการแก้ไขปัญหาล้มละลาย และบทเรียนจากประเทศอื่นๆ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Doing Business อ่านได้ที่ www.doingbusiness.org


รายชื่อผู้ติดต่อ

กรุงเทพฯ
ขนิษฐา คงรักเกียรติยศ
02-686-8385
08-1846-1246
kanitha@worldbank.org
วอชิงตัน
อินทิรา ชานด์
+1 (202) 458-0434
+1 (703) 376-7491
ichand@worldbank.org
Api
Api