ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3.2 ในปีพ.ศ. 2560

วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559


การปฏิรูปภาคบริการจะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป

กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยซึ่งจัดทำโดยธนาคารโลกได้คาดการณ์ ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ร้อยละ 3.1 ในปีพ.ศ. 2559 และร้อยละ 3.2 ในปีพ.ศ. 2560 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8 เมื่อปีที่ผ่านมา

รายงานนี้พบว่า ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยยังคงเป็นการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุน ภาครัฐ อาทิ โครงการรถไฟรางคู่ และโครงการการยกระดับระบบราง การเติบโตของภาคท่องเที่ยวเป็นไปอย่าง เข้มแข็งในปีพ.ศ. 2559 จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.1 ในช่วงไตรมาสที่สามซึ่งส่วนใหญ่ มาจากจีน

สำหรับในช่วงไตรมาสที่สี่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและเลื่อนออกไปในช่วงการถวายความอาลัยหลังการ เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนตุลาคมนั้นคาดว่าจะได้รับการ ชดเชยจากมาตรการลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการและท่องเที่ยวในประเทศในช่วงสิ้นปี

เพิ่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจในวงกว้างเพื่อวางรากฐาน สำหรับอนาคตของประเทศในด้านต่างๆ อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน และการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว “ในขณะเดียวกันก็ต้องให้แน่ใจว่า ประชาชนระดับรากหญ้าได้รับประโยชน์จากการพัฒนานี้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังพบว่า การที่แรงงานวัยทำงานของไทยมีอายุสูงขึ้นนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในอีกห้าปีข้างหน้า ดังนั้น จึงจำเป็นที่ประเทศไทยต้องหาปัจจัยใหม่มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งภาคบริการเพื่อช่วยให้ประเทศได้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง

เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่บนเส้นทางการฟื้นตัว การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคบริการจะช่วยสร้างงาน ใหม่ที่ดีขึ้น รวมทั้งรายได้สูงขึ้นและมีโอกาสที่มากขึ้นสำหรับคนไทย นายอูลริค ซาเกา ผู้อำนวยการ ธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว การเปิดเสรีภาคบริการ และการทำให้ประชาชนไทย สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอันจะช่วยให้มีทักษะที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานในเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น จะเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพของภาคบริการ และช่วยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอย่าง ต่อเนื่อง

รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับนี้ยังพบว่า ภาคบริการนั้นมีผลิตภาพน้อยกว่าภาคการผลิตของไทยถึงร้อยละ 30  ขณะที่ ภาคบริการมีมูลค่าถึงร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และมีการจ้างงาน คิดเป็นร้อยละ 40 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับภาคการผลิตที่มีการจ้างงานเป็นร้อยละ 15 และมีมูลค่าร้อยละ 35 ของ GDP

การผสมผสานระหว่างการริเริ่มจากภาคเอกชนและการสนับสนุนจากภาครัฐบาลได้นำไปสู่ความสำเร็จของภาค บริการแล้วในหลายประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลกประจำประเทศไทยกล่าว “ความมุ่งมั่นของไทยในการปฏิรูปโครงสร้าง อย่างต่อเนื่องจะช่วยปลดปล่อยศักยภาพของภาคบริการได้เต็มที่ และยกระดับเศรษฐกิจให้เติบโตสูงกว่าร้อยละ 4 อย่างต่อเนื่องในระยะยาว”

ประเทศไทยมีกฎระเบียบด้านตลาดบริการที่เข้มงวดกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ภาคบริการบางส่วน ได้รับความคุ้มครองในการแข่งขันทั้งจากต่างชาติและภายในประเทศ อาทิ การศึกษา และสุขภาพซึ่งกำหนดให้ ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ต้องเป็นคนไทย

รายงานของธนาคารโลกฉบับนี้ยังระบุว่าการเปิดเสรี หรือการเปิดโอกาสให้แก่ภาคบริการที่เป็นงานวิชาชีพ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพ และคุณภาพให้แก่ภาคบริการมากขึ้น ประเทศไทยสามารถสร้างความเข้มแข็ง ให้กับภาคบริการได้ด้วยการให้การสนับสนุนด้านกฏระเบียบข้อบังคับที่สร้างบรรยากาศเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ เสริมสร้างการแข่งขัน และการร่วมมือทางการค้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากยิ่งขึ้น

 

สื่อมวลชนโปรดติดต่อ
ใน กรุงเทพฯ
ขนิษฐา คงรักเกียรติยศ
โทร: 02-686-8385, 081-846-1246
kanitha@worldbank.org
ใน วอชิงตัน ดีซี
เจน ชาง
โทร: +202-473-1376
janezhang@worldbank.org




Api
Api

Welcome