ข่าวประชาสัมพันธ์

การนำเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศใหม่มาใช้ในประเทศไทย: ธนาคารโลกและกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ร่วมกันสนับสนุนโทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559


กรุงเทพฯ 20 เมษายน 2559 – วันนี้ บริษัท ซัยโจ เดนกิ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด ผู้ประกอบการไทยได้ร่วมมือกับกลุ่มธนาคารโลกและกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล (MLF) เปิดตัวเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ที่เป็นมิตรต่อชั้นบรรยากาศโอโซนและต่อสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงาน

สารทำความเย็นชนิดใหม่ หรือที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ R-32 นี้มีคุณสมบัติที่ไม่เพียงแต่ไม่ทำลายโอโซนในชั้นสตราโท-สเฟียรเท่านั้น หากแต่ยังช่วยลดผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากสารทำความเย็นจากเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในบ้านเรือนได้มากถึง 1 ใน 3  หากเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศชนิดใหม่นี้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆ จะช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่ได้วางไว้ของแต่ละประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

ธนาคารโลกของแสดงความยินดีแก่ภาคอุตสาหกรรมของไทยที่ได้เปลี่ยนความท้าทายในการปกป้องสิ่งแวดล้อมโลกไปสู่โอกาสทางธุรกิจ” นายอูริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทยกล่าว “ความสำเร็จของเครื่องปรับอากาศที่นำสารทำความเย็น R-32 มาใช้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงนโยบายที่เข้มแข็งและความเป็นผู้นำของรัฐบาลไทยในความพยายามปกป้องสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านนวัตกรรมให้กับภาคเอกชน ประเทศไทยสามารถสนับสนุนการใช้นโยบายจัดซื้อจัดจ้างที่ระบุถึงความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อชั้นบรรยากาศโอโซนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว”

นางคาร์ริน เชปาร์สัน ผู้จัดการแผนกโครงการพิธีสารมอนทรีออลกล่าวว่า “การที่ภาคอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทยได้เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อผู้บริโภคนั้น สามารถเป็นต้นแบบให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้”

บริษัท ซัยโจ เดนกิ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด ได้เปิดเผยว่าเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R-32 สามารถช่วยประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5-10  นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นได้สูงกว่าสารทำความเย็นชนิดเดิมถึงร้อยละ 10  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้ ผู้ประกอบการไทยรายนี้จึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีราคาที่แข่งขันกับตลาดได้   ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็จะได้รับประโยชน์จากการลดค่าไฟฟ้าเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นชนิดใหม่นี้  ที่สำคัญที่สุด สารทำความเย็นรุ่นใหม่นี้จะไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนและและไม่ส่งผลเสียต่อสภาพภูมิอากาศ

โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตเครื่องปรับอากาศด้วยเงินจากกองทุนภายใต้พิธีสารมอนทรีออลผ่านธนาคารโลกนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศดร. อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าว “กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายสนับสนุน พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ประกอลการมีความเข้มแข็ง และแข่งขันได้ในเวทีโลก”

โครงการลดละเลิกการใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูโอโรคาร์บอนของไทยซึ่งได้รับเงินสนับสนุนแบบให้เปล่าจากกองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออลนี้มีมูลค่า 23,900,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 760 ล้านบาท) กระทรวงการคลังของไทยและธนาคารโลกได้ลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 โดยมีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และธนาคารออมสินเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ

พิธีสารมอนทรีออลและธนาคารโลก

พิธีสารมอนทรีออลเพื่อลดละเลิกการใช้สารทำลายชั้นโอโซนได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีพันธกรณีเพื่อลดละเลิกการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในเครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ การผลิตโฟม กระป๋องสเปรย์ และสารดับเพลิง

กองทุนพหุภาคีภายใต้พิธีสารมอนทรีออลเป็นกลไกลด้านการเงินเพื่อให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่ได้ดำเนินการตามพิธีสารมอนทรีออลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ธนาคารโลกได้ดำเนินโครงการนี้ใน 7 ประเทศได้แก่ อาร์เจนตินา จีน อินโดนีเซีย จอร์แดน ฟิลิปปินส์ ไทย และ เวียดนาม ประเทศที่ดำเนินการตามพิธีสารมอนทรีออลเหล่านี้เป็นผู้ผลิตและใช้สาร HCFC รวมกันถึงร้อยละ 70 ของทั่วโลก

สื่อมวลชนโปรดติดต่อ
ใน กรุงเทพฯ
ขนิษฐา คงรักเกียรติยศ
โทร: +662 686-8385
kanitha@worldbank.org

แหล่งอ้างอิง



Api
Api

Welcome