ในความพยายามมานานหลายทศวรรษของประเทศต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เกิดความแข็งแกร่ง และลดความยากจนอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) ต่างประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาและผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพสำหรับประชาชนในประเทศของตน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ดัชนีชี้วัดเฉลี่ยทางด้านการศึกษา การพัฒนาทักษะ และสุขภาพของสมาคมอาเซียนยังคงมีระดับที่ต่ำกว่าระดับรายได้ในปัจจุบัน ซึ่งช่องว่างดังกล่าวยังคงมีอยู่ และสามารถบั่นทอดการเติบโตและความเจริญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
เพื่อที่จะเติบโตในเศรษฐกิจโลกซึ่งมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะสร้างอุตสาหกรรมที่ไม่อาจจินตนาการได้ และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของงานที่ให้ความสำคัญกับทักษะการทำงานมากขึ้น ประเทศในอาเซียนจึงต้องกลับไปสู่พื้นฐาน และลงทุนกับเหล่าเยาวชน
ความท้าทายดังกล่าวมีความสำคัญ เนื่องจากเกือบหนึ่งในสามของเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หยุดเจริญเติบโต เนื่องจากการขาดสารอาหารอย่างเรื้องรัง ทำให้เยาวชนเหล่านั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดข้อจำกัดทางด้านสติปัญญาและร่างกายตลอดชีวิต สิ่งเหล่านั้นอาจนำไปสู่ผลการเรียนที่ไม่ดี และโอกาสในการทำงานน้อยลง ถึงแม้ว่าอัตราการศึกษาในอาเซียนจะสูง แต่คุณภาพการศึกษาที่จำกัดจะทำให้เกิดช่องว่างการเรียนรู้อย่างมาก โดยเยาวชน 21 คนใน 100 คนมีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ต่ำ สำหรับเยาวชนที่กำลังจะจบประถมศึกษา ประมาณร้อยละ 15 ของเยาวชนที่อายุ 15 ปีในปัจจุบันจะไม่สามารถมีอายุได้ถึง 60 ปี โดยมีเหตุผลหลักมาจากโรคไม่ติดต่อต่าง ๆ เช่น เบาหวาน มะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ ประเด็นดังกล่าวเป็นผลมาจากการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่ไม่มีความเท่าเทียม รวมถึงการเข้าถึงการดูแลสุขภาพและการศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของแง่ของรายได้
กลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเชื่อมโยงกันทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจมีระดับอายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) ประสิทธิภาพของงาน (job productivity) และคุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกัน หัวใจสำคัญของปัญหาเหล่านั้นคือความต้องการของทุกประเทศในการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ (human capital) ในเดือนนี้ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ผู้นำจากภูมิภาคต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันเพื่อหารือถึงวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ในอนาคต
“ความไม่เสมอภาค ความยากจน การศึกษา และสุขภาพ ยังคงเป็นความท้าทายในอาเซียน เราจะต้องทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาของเรา” เลขาธิการอาเซียน ลิม จ๊อก ฮอย (Lim Jock Hoi) กล่าวในการประชุมระดับสูงของอาเซียนด้านการพัฒนามนุษย์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562
การประชุมระดับสูงดังกล่าวจัดโดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย (NESDC) กระทรวงการต่างประเทศ ธนาคารโลก และ UNICEF ซึ่งออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการสนทนาระหว่างรัฐสมาชิก และแบ่งปันกรอบนโยบายที่ประสบความสำเร็จและความท้าทายใหม่ ๆ รวมถึงการช่วยกำหนดแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนาทุนมนุษย์และมุ่งสู่ทิศทางของแนวทางนโยบายร่วมกันที่สามารถปรับเปลี่ยนได้