“ปัญหานั้นมาเป็นคู่” คำกล่าวนี้เป็นความจริงสำหรับประเทศกลุ่มรายได้น้อยและปานกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่กำลังเผชิญความท้าทายทั้งจากเงินทุนจากผู้สนับสนุนลดลงและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ประเทศไทยได้เผชิญหน้ากับปัญหาสำคัญระดับโลกนี้ซึ่งประเทศรายได้น้อยและปานกลางอื่นๆกำลังเผชิญ ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่จัดประชุมเชิงปฏิบัตการระดับภูมิภาคขึ้นที่กรุงเทพฯ เรื่อง “เมื่อสองการเปลี่ยนผ่านมาบรรจบกัน: การผนวกโครงการสุขภาพที่ใช้แหล่งเงินสนับสนุนจากภายนอก ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (When Two Transitions Converge: Integrating Externally-Financed Health Programs While Gearing-Up for Non-Communicable Diseases)”
ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 120 คน จาก 12 ประเทศ 35 หน่วยงานได้เรียนรู้การผนวกโครงการสุขภาพที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนเข้ากับนโยบายสาธารณสุขของประเทศที่ใช้แหล่งเงินจากงบประมาณ พร้อมกับการเตรียมตัวรับมือการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นับเป็นงานที่ต้องใช้ความอุสาหะมาก ประมาณการณ์ว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากสี่โรคสำคัญ ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและปอด โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคเบาหวาน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 47 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในระหว่างปี พ.ศ. 2554–2573
“นับการเป็นการสูญเสียผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลกอย่างมหาศาล” นางเสี่ยวหุ้ย หู นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสด้านสุขภาพของธนาคารโลกกล่าว
นอกจากนี้ ภาระที่เกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ามากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับภาระที่เกิดจากจากโรคต่าง ๆ ทั่วโลก แต่กลับได้รับเงินช่วยเหลือเพียงร้อยละ 2 ของเงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขจากต่างประเทศทั้งหมด จึงส่งผลให้แต่ละประเทศต้องจัดหาแหล่งเงินในประเทศตนเพื่อดูแลภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
กิจกรรมทั้ง 2 วันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปีพ.ศ. 2562 (Prince Mahidol Award Conference 2019: PMAC) ซึ่งร่วมจัดโดย กระทรวงการค้าและการต่างประเทศ ประเทศออสเตรเลีย โกลบอลฟันด์ (Global Fund) กาวิ (Gavi) ยูเอชซี 2030 (UHC2030) องค์การอนามัยโลก (WHO) และธนาคารโลก
นอกเหนือไปจากความท้าท้ายในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากแหล่งเงินทุนจากภายนอกลดลงไปจนถึงการจัดหาแหล่งทุนภายในประเทศแทน ตลอดจนการเตรียมระบบสาธารณสุขเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มประเทศรายได้น้อยและปานกลางมีความจำเป็นที่ต้องทำงานเพื่อสร้าง “การดูแลอย่างผสมผสาน” ที่จะรวมการบริหารจัดการโรคเข้ากับการให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยอย่างไร้รอยต่อ
การสร้างการดูแลแบบผสมผสานนี้จะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูล การกำกับดูแล การเงินและการจัดซื้อจัดจ้าง การเข้าถึงผู้ป่วยนอกพื้นที่ และการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน แม้ว่าจะเป็นงานที่หนักเอาการ แต่ระบบการดูแลแบบผสมผสานนี้มีความสำคัญ ที่จะป้องกันการดูแลผู้ป่วยแบบแยกส่วน และเป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการที่หน้างานซึ่งต่างจากระบบการดูแลแบบโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง
ประเทศต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านทางระบาด โดยกุญแจสำคัญคือ การมองระบบทั้งหมดแบบ “องค์รวม” ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่าในการออกแบบหรือปฏิรูประบบสาธารณสุข ผู้วางนโยบายต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ต้องใช้ในการปรับเปลี่ยนระบบและองค์กรเพื่อจะส่งมอบผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้