สำหรับประเทศไทย การพัฒนาเขตเมืองกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 และมีประชากรที่เข้าใกล้ 10 ล้านคนในปี 2553 ซึ่งมากเป็นอันดับ 9 ในเอเชียตะวันออก ส่วนเขตเมืองอื่นๆ ในประเทศไทยล้วนมีประชากรไม่ถึง 500,000 คน
ผลการศึกษา
- เขตตัวเมืองในประเทศไทยขยายตัวจาก 2,400 มาเป็น 2,700 ตารางกิโลเมตร ระหว่างปี 2543 ถึง 2553 คิดเป็นอัตราร้อยละ 1.4 ต่อปี ซึ่งช้ากว่าการขยายตัวโดยเฉลี่ยของภูมิภาค (ร้อยละ 2.4)
- ประชากรเมืองในประเทศไทย (ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มากกว่า 100,000 คน) เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้จาก 9.3 ล้านคนมาเป็นประมาณเกือบ 11.8 ล้านคน
- อัตราโดยเฉลี่ยต่อปีการขยายตัวของประชาการเมืองอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ซึ่งน้อยกว่าในภูมิภาคเล็กน้อย (ร้อยละ 3.0)
- โดยรวม ความหนาแน่นของประชากรเมืองในประเทศไทยอยู่ที่ 4,000 คนต่อตารางกิโลเมตรในปี 2543 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 4,300 คนต่อตารางกิโลเมตรในปี 2553 ซึ่งน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 5,800 คนต่อตารางกิโลเมตรในปี 2553
- การพัฒนาเขตเมืองในประเทศไทยกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมีประชากร 9.6 ล้านคนในปี 2553 ซึ่งเกือบได้รับการจัดอันดับเป็นมหานครของภูมิภาคนี้
- เขตเมืองกรุงเทพฯ มีพื้นที่ขยายตัวจาก 1,900 มาเป็น 2,100 ตารางกิโลเมตรในปี 2543 - 2553 ทำให้เป็นเขตเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในเอเชียตะวันออกในปี 2553 ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่กว่ามหานครอื่นๆ อาทิ จาการ์ตา มะนิลา และโซล
- อัตราการขยายตัวต่อปีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งถือว่าเป็นเขตเมืองที่ผู้อยู่อาศัยมากกว่า 5 ล้านคนที่โตช้าที่สุดเขตหนึ่งในภูมิภาค โดยที่โตเร็วกว่าเพียง ฮ่องกง จีน และเขตเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น
- ในปี 2553 เขตเมืองกรุงเทพฯ นับได้เป็นเกือบร้อยละ 80 จากพื้นที่เขตเมืองในประเทศไทย
- ประชากรเมืองในเขตเมืองกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นจาก 7.8 ล้านเป็น 9.6 คนระหว่างปี 2453 ถึง 2553 ถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างพอประมาณในอัตราร้อยละ 2.0 และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 9 ในเอเชียตะวันออก
- เช่นเดียวกับเขตเมืองใหญ่อื่นๆ ในภูมิภาคนี้ การบริหารเขตเมืองกรุงเทพฯ ไม่มีความเป็นเอกภาพ โดยมากกว่าร้อยละ 60 ของเขตเมืองอยู่นอกอาณาเขตการปกครองของสำนักงานกรุงเทพมหานคร
- สุราษฎร์ธานีเป็นเขตเมืองที่มีพื้นที่ขยายเร็วที่สุดจาก 20 ตารางกิโลเมตรในปี 2543 มาเป็น 36 ตารางกิโลเมตรในปี 2553 เป็นร้อยละ 5.8 ต่อปี ด้านจำนวนประชากรก็เช่นกันที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวจาก 62,000 คนมาเป็น 131,000 คนในช่วงเวลาเดียวกัน
- ในปี 2553 หาดใหญ่เป็นเขตเมืองที่มีความหนาแน่นมากที่สุดที่ 5,900 คนต่อตารางกิโลเมตรและรองลงมาคือเชียงใหม่ที่ 5,000 คนต่อตารางกิโลเมตร