ประเด็นสำคัญ
ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวเล็กน้อยตั้งแต่ช่วงที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูงขึ้น แต่กิจกรรมทาง เศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2565
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทะลุกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร้อยละ 1–3 แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี ที่ร้อยละ 7.1 ในเดือนพฤษภาคม โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
- การขาดดุลทางการคลังยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.2 ต่อ GDP ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และหนี้สาธารณะ ได้เพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 60 ต่อ GDP
- ระบบการเงินโดยรวมยังคงมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น
- ในขณะที่ความยากจนและการว่างงานคาดว่าจะลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานกลับลดลงและหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการใช้จ่าย
เศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปีพ.ศ. 2565 ซึ่งช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ร้อยละ 1 แต่การฟื้นตัวจะแข็งแกร่งขึ้นในระยะปานกลาง
- ในปีพ.ศ. 2565 คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลเพียงเล็กน้อย แต่การแก้ปัญหาคอขวดในการผลิต การฟื้นตัวของ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ และราคาน้ำมันโลกที่ลดลง อาจทำให้ดุลบัญชี เดินสะพัดกลับมาเกินดุลอีกครั้งในปีพ.ศ. 2566 และ 2567
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ในปีพ.ศ. 2565 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.3
- หนี้สาธารณะคาดว่าจะพุ่งสู่จุดสูงสุดที่ร้อยละ 62.5 ต่อ GDP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งสูงกว่าระดับปัจจุบันเล็กน้อย
- เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงด้านลบ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างกันชนทางการคลัง การติดตามตรวจสอบจุดอ่อน ในภาคการเงิน และการสำรวจแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างผลผลิต ทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นแนวคิดเกี่ยวกับแนวทางการสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ
- การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจะทำให้ เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 1.2 และช่วยให้เกิดการจ้างงานประมาณ 160,000 ตำแหน่ง ภายในปี พ.ศ. 2573 หรือคิด เป็นร้อยละ 0.3 ของการจ้างงานทั้งหมด
- การปล่อยก๊าซเรือน กระจกของประเทศไทยจะลดลงประมาณร้อยละ 5 ภายในปี พ.ศ. 2573 และการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจะลดลงซึ่งจะช่วย ป้องกันประเทศไทยจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงและมีความผันผวน
ในรายงานนี้นำเสนอข้อเสนอแนะที่มีต่อข้อจำกัดและการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียนรัฐบาลสามารถดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเช่น
- ประการแรก การพัฒนากรอบนโยบาย กฎหมาย และสถาบันที่เข้มงวดมีความจำเป็นต่อการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
- ประการที่สอง การสร้างขีดความสามารถของสถาบันและการประสานงานทั้งภายในและระหว่างหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็น รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานกลางด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
- ประการที่สามการดำเนินการร่วมกันและมาตรการที่กำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ เช่น โลจิสติกย้อนกลับ (Reverse Logistics) มาตรฐานการออกแบบ และสิ่งจูงใจเพื่อชดเชยความเสี่ยงในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
- สุดท้าย การสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความเข้มข้นของทรัพยากร มลพิษ และความเสื่อมโทรมของทรัพยากร จะเตรียมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้พร้อมลงมือปฏิบัต