- เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะเติบโตราวร้อยละ 3 โดยที่การส่งออก การบริโภคในภาคครัวเรือน การลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐชะลอตัวลง โดยการท่องเที่ยว ซึ่งขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราวร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลงในช่วงท้ายปี (หมายเหตุ สำนักงานคฌะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะรายงานข้อมูลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2556 ในสัปดาห์หน้า)
- ประเทศไทยยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคในการฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก สาเหตุประการหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในประเทศก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งรวมถึง การลดการก่อหนี้ภาคครัวเรือนหลังจากการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือนอย่างรวดเร็ว การชะลอตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ และการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ
- แนวโน้มทั้งหมดนี้ล้วนชัดเจนก่อนที่การประท้วงเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และประเมินว่าการประท้วงไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาคในวงกว้างในปี 2556 ผลกระทบหลักตกอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยวซึ่งได้ชะลอตัวลงในไตรมาสสุดท้ายของปี 2556
- โครงการจำนำข้าวยังส่งผลทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2556 แม้โครงการนี้ได้ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ประมาณว่า รัฐบาลใช้จ่ายไปกับโครงการนี้ไป 200,000 ล้านบาท หรือเกือบร้อยละ 2 ของจีดีพีในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยวมาตั้งแต่ปี 2555 (ดูได้จากรายงาน East Asia Update เดือนตุลาคม 2556) หลายๆ ประเทศรวมทั้งในสหภาพยุโรปที่ได้ดำเนินโครงการอุดหนุนช่วยเหลือทางเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ได้พบว่ามีค่าใช้จ่ายสูง และยังทำให้ความสามารถในการแข่งขันในภาคเกษตรกรรมลดลง โดยโครงการซึ่งประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ที่สนับสนุน และเสริมสร้างภาคเกษตรกรรมให้แข็งแกร่งขึ้น ได้มุ่งเน้นที่การเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร และช่วยเหลือกลุ่มคนยากจน
- ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแข็งแกร่งมากขึ้น คาดว่าจีดีพีที่แท้จริงจะขยายตัวราวร้อยละ 4 ในปี 2557 การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มเติบโตราวร้อยละ 6 หลังจากที่หดตัวเมื่อปีที่แล้ว การลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มเติบโตราวร้อยละ 5 การบริโภคจะยังคงอ่อนแอ ความเสี่ยงอาจเกิดจากความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการท่องเที่ยวไปตลอดระยะเวลาของการประท้วง และอาจจะการดำเนินนโยบายและการลงทุนของรัฐบาลสดุดและทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนาระยะยาวต่างๆ น้อยลง
- สำหรับมุมมองระยะยาวนั้น รายงานฉบับนี้พบว่า การกระจายการใช้จ่ายภาครัฐให้ทั่วถึง รูปแบบรัฐบาลท้องถิ่น และภาระรับผิดชอบระดับท้องถิ่น จะสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีส่วนร่วมมากขึ้นในอนาคต