เอชไอวีและชายรักชายในกรุงเทพฯ
- ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นจำนวนสูงถึง 440,000 คน และ มีผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการติดเชื้อเอชไอวีปีละ 1,200 คน
- ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดจำนวนการแพร่เชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศและผู้ใช้บริการ โครงการถุงยางอนามัย 100% เป็นที่รู้จักอย่างดีไปทั่วโลก
- อย่างไรก็ดี การตอบสนองต่อการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายยังมีการจัดการอย่างจำกัด
- การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายเพิ่มขึ้นสูงมากจากอัตราการติดเชื้อร้อยละ 6 ในช่วงปลายปี 1990 เป็นร้อยละ 30 ในปัจจุบัน และจะยังสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในแต่ละปีมาจากกลุ่มชายรักชายถึงร้อยละ 40 ตัวเลขนี้สามารถสูงขึ้นได้ถึงร้อยละ 59 ภายใน 10 ปี จากการคาดการณ์โดยการคำนวณการระบาดในเอเชีย (Asian Epidemic Model)
ชายรักชายในกรุงเทพฯ
- ประชากรชายรักชายในกรุงเทพฯมีจำนวนประมาณ 185,000 คนและ 60,000 คนจากจำนวนนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง
- จากจำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ว่านี้ มีเพียงแค่ 14,000 คนที่เข้ารับการตรวจเชื้อและ 4,000 คนจากกลุ่มนี้มีผลเลือดเป็นบวก
- จากจำนวนผู้ติดเชื้อดังกล่าว มีผู้ติดเชื้อไม่ถึง 1,000 คนที่เริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) ทั้งๆ ที่สามารถรับยาได้ฟรี
- ในกรุงเทพฯ มีจำนวนคลีนิคและบุคลากรที่เพียงพอที่จะให้การตรวจและรักษาแก่ทุกคนที่ต้องการ
- สถานพยาบาลมีมากกว่า 90 แห่งที่ชายรักชายสามารถไปรับการตรวจและรักษาได้ แต่ส่วนใหญ่มีผู้ไปใช้บริการค่อนข้างน้อย
- กลุ่มชายรักชายกว่าร้อยละ 75 ไปใช้บริการตรวจและรักษาในคลีนิควิจัยเพียงแค่ 2 แห่งในกรุงเทพฯ มีการตรวจเชื้อเอชไอวีประมาณ 200,000 ครั้งในแต่ละปี ในขณะที่สถานพยาบาลยังมีขีดความสามารถในการให้บริการตรวจได้อีกกว่า 400,000 ครั้ง นั่นหมายถึงว่าร้อยละ 65 ของความสามารถในการให้บริการได้ถูกปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์
ทำอย่างไรเพื่อขยายบริการตรวจและรักษาได้
- การขยายการตรวจและรักษาเอชไอวีนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาชีวิต และยังช่วยลดค่าใช้จ่าย
- การเพิ่มเงินลงทุนในการให้บริการอีก 55 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงทศวรรษหน้า ไม่เพียงแต่จะช่วยลดการเพิ่มอัตราการติดเชื้อ หากแต่ยังช่วยให้บรรลุการให้บริการรักษาแบบถ้วนหน้าในกรุงเทพฯ
- นั่นหมายถึง การป้องกันการเสียชีวิตจากสาเหตุอันเนื่องมาจากการติดเชื้อเอชไอวีได้กว่า 5,000 รายและลดจำนวนผู้ติดรายใหม่ได้ถึง 4,000 รายได้ในแต่ละปี
- สถานพยาบาล/โรงพยาบาลรัฐสามารถให้การตรวจและรักษาชายรักชายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
- นี่คือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการขยายการรักษาในกลุ่มชายรักชายในกรุงเทพฯ
- สถานบริการเหล่านี้สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น หากนำประสบการณ์การทำงานของคลีนิควิจัยที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นแก่คนไข้ ให้บริการในช่วงเวลาที่สะดวก และมีพนักงานที่เป็นมิตร
- การทำงานร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากคลีนิควิจัยและกลุ่มชายรักชายในชุมชนในเรื่องการให้บริการตรวจเชื้อเอชไอวี การรักษา และการป้องกันจะช่วยปรับปรุงคุณภาพการให้บริการในภาพรวมนั้น
- การตรวจเอชไอวีและการรักษาโดยใช้แนวทางการทำงานที่หลากหลายจะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มชายรักชายเพื่อนำไปสู่การเข้ารับบริการ
- ตัวอย่างเช่น การตั้งทีมงานเพื่อนช่วยเพื่อนติดตามอย่างเป็นระบบได้แสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยให้ชายรักชายซึ่งผลการตรวจเลือดเป็นบวกสามารถเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและลดการเสียชีวิต ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีขึ้นและได้ทำประโยชน์ (ทั้งต่อตัวเองและคนอื่น)