ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว สัดส่วนของประชากรวัยทำงานกำลังลดลง สัดส่วนคนจนในกลุ่มผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปสูงขึ้น
- จำนวนประชากรของประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดและจะลดลงในปี 2573
- สัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอีก 50 ปีข้างหน้า คือจากร้อยละ 15 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 35 ในปี 2603
- สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี)จะลดลงจากประมาณร้อยละ 54 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 46 ในปี 2593
- สัดส่วนคนจนในกลุ่มผู้สูงอายุสูงกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนคนจนของประชากรทั้งหมด โดยในปี 2553 ร้อยละ 10.9 ของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นคนยากจน ขณะที่สัดส่วนคนจนของประชากรทั้งหมดมีเพียงร้อยละ 7.7 เท่านั้น
รัฐบาลมีโครงการบำนาญหลายโครงการเพื่อรับมือกับปัญหานี้ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ทำได้อีกมากเพื่อเพิ่มประสิทธิผล
- ปัจจุบันนี้มีโครงการบำนาญอยู่ 8 โครงการ ครอบคลุมประชากรกลุ่มต่างๆ กัน
- สิทธิประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ที่ไม่ได้ยากจน มีเพียงพระราชบัญญัติผู้สูงอายุเท่านั้นที่ปรากฏว่า ส่งผลกระทบในการป้องกันความยากจนในหมู่สูงอายุได้อย่างดี
- หลายโครงการวางกรอบทางกฎหมายไว้ไม่เพียงพอ
- ไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบกองทุนบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการเงินโดยรวม
- การที่ไม่มีนโยบายบำนาญแห่งชาติที่ชัดเจน จึงเกิดความซ้ำซ้อนและขาดการประสานงานระหว่างกระทรวงต่างๆ ที่ดูแลโครงการบำนาญต่างๆ ซึ่งมีความช่วยเหลือทางสังคมและโครงการชุมชนอื่นๆ ได้สนับสนุนอยู่แล้ว
มีทางเลือกด้านนโยบายอยู่หลายทางที่จะรวมและปรับเปลี่ยนระบบบำนาญที่มีอยู่ทั้งหมด โดยมุ่งเน้นที่การลดความยากจนในผู้สูงอายุ
- รัฐบาลอาจต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
- ปรับเปลี่ยนและลดจำนวนโครงการบำนาญลง
- ตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการบำนาญ
- กำหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนไว้ในนโยบายบำนาญโดยรวม
- ปรับเปลี่ยนและลดจำนวนโครงการบำนาญลง
- เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุภายใต้ พ.ร.บ. ผู้สูงอายุคุ้มครองราษฎรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองจากโครงการบำนาญที่อยู่ในระบบอื่นๆ
- รัฐบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากด้วยการปรับโครงสร้างของโครงการนี้ เพื่อให้เลือกคุ้มครองเฉพาะคนยากจนหรือคนที่มีความจำเป็นที่สุด เพื่อขจัดความยากจนให้หมดไปจากคนกลุ่มนี้